“All I could do was to offer you an opinion upon one minor point —

 a woman must have money and a room of her own if she is to write fiction;”

 (Woolf, 1929, p. 2) 


สวัสดีทุกคน! ก่อนที่เราจะ Dive into the discussion about the book from Virginia Woolf เรื่อง A Room of One’s Own และ Feminism เรามาอัปเดตกันหน่อยดีกว่าว่าอาทิตย์ที่ผ่านมานี้ สมาชิก The Bookining Book Club ของเราไปทำอะไรมาบ้าง อ่านหนังสือเรื่องอะไรกันอยู่


พี่ญาดาสาวลำปางของเราไปช็อปหนังสือมาใหม่จากห้องสมุดลำปางทั้งหมด 3 เล่มได้แก่  หนังสือเรื่อง Whiteboard ไอเดียธุรกิจติดลมบน เขียนโดย Daren Martin Ph.D. และแปลโดย รสสุคนธ์ โมรินทร์  เรื่อง เปลี่ยนวิธีทำงานแค่ 1 % คุณก็แซงหน้าคน 99 % ได้แล้ว เขียนโดย Eitaro Kono (โคโนะ เอตาโร่) และแปลโดย ทินภาส พาหะนิชย์ และเรื่องวิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน (Graduation Edition ปก J.K Rowling) เขียนโดย สฤณี อาชวานันทกุล แถมพี่ญาดายังใช้เวลาไปกับหนังสือ Graphic Design เรื่อง A Book on Books เขียนโดย Victionary ที่สั่งมาจากร้านหนังสือ The Booksmith ของเราอีกด้วย


ศิและมายด์ นักศึกษาปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษย์ศาสตร์ (ศิเรียนสาขาจิตวิทยา มายด์เรียนวรรณกรรมอังกฤษ) ตอนนี้ก็วุ่นอยู่กับการจัดทำการนำเสนองานในแต่ละวิชาก่อนจะสอบปิดภาคเรียน พวกเขาจึงไม่ค่อยได้อ่านอะไรเพื่อความเพลิดเพลินกันมากสักเท่าไหร่ มายด์ถึงกับกล่าวว่า “ช่วงนี้เรารู้สึกว่าไม่ได้อ่านอะไรเพื่อความสุขของตัวเองเลยอ่ะ” The Bookining Book Club มอบช่วงเวลาครึ่งแรกให้กับทั้งสองได้เล่าประสบการณ์และการเรียนการสอนในคณะของตัวเองว่าเป็นอย่างไรบ้าง มีระบบการทำงานกลุ่มอย่างไร งานไหนยาก งานไหนน่าสนใจเป็นพิเศษไหม


ส่วนฉันปริ้นเซส อาทิตย์นี้ก็เกือบจะไม่ได้อ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียนแล้วเหมือนกัน เพราะปีการศึกษาที่หนึ่งของมหาวิทยาลัย Southern New Hampshire University คณะ Creative Writing & English ที่ฉันกำลังศึกษาอยู่นั้นเพิ่งเปิดเทอม พอเปิดมาปุ๊บความท้าทายที่ต้องเขียนรายงานหัวข้อเรื่อง Your Best Self: Owning Your Success ทำความรู้จักเพื่อน ๆ และคุณครู และอ่านบทแรกของตำราล่วงหน้าก็ประดังเข้ามากันเลยทีเดียว นี่ยังโชคดีที่ฉันเบียดเวลาอ่านหนังสือ Non-Fiction เรื่อง This Book Will Make You Kinder เขียนโดย Henry James Garett เข้าไปได้ในแต่ละวันอยู่บ้างนะ เพราะอ่านวันละนิดจิตแจ่มใส


ข่าวดีก็คือพี่นิปปอนเข้าร่วมการคอลกลุ่มกับเราตอนช่วงท้าย ๆ แล้วแจ้งว่าเธอกำลังอยู่เชียงใหม่ (เหตุเกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2021) ศิและฉันจึงวางแผนกับเธอว่าเราจะต้องได้ออกมาเจอกันซะหน่อย เพราะนาน ๆ ทีสาวกรุงเทพจะมีเวลามาเยี่ยมเยียนกัน แม้ใจจะคิดถึงเชียงใหม่มากแค่ไหน แต่หน้าที่และความรับผิดชอบก็ต้องมาก่อน


ส่วนข่าวร้าย (ข่าวที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่) ก็คือราฮิมสมาชิกหนุ่มตรุกีของเราส่งข้อความมาบอกฉันก่อน The Bookining Book Club จะเริ่ม 1 ชั่วโมง ว่าวันนี้เขารู้สึกไม่สบายเล็กน้อย คาดว่าน่าจะเป็นผลมาจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงและมลพิษฝุ่นควันที่เชียงใหม่กำลังเผชิญอยู่ ฉันจึงบอกว่าจะเก็บรายละเอียดสนุก ๆ น่าสนใจที่ได้จากการพูดคุยกันในวันนี้ไปเล่าให้ฟังในครั้งหน้าที่เจอกัน


การสนทนาของเราในวันนี้เปิดขึ้นมาด้วยลิสต์คำถามที่มายด์ช่วยไปค้นหามาเพิ่มเติม ซึ่งคำถามเหล่านี้ก็จะเป็นประมาณว่า ข้อโต้แย้งของ Woolf ที่ว่า “women simply need a room of their own and ‘some considerable amount of money’ to be able to write and become equal to men”  ยังใช้อ้างอิงกับปัจจุปันได้จริงอยู่หรือไม่ แนวทางการเขียนของนักเขียนผู้หญิงและนักเขียนผู้ชายมีการเล่าเรื่องที่แตกต่างกันจริงไหม และทุกคนมีความคิดเห็นกันอย่างไรเกี่ยวกับความเป็นอิสระในตัวตนของตัวเองของนักเขียนหญิงในเอเชียและในตะวันตก


เราทุกคนต่างแชร์ประสบการณ์ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบัน ว่าแต่ละคนเคยมีช่วงเวลาไหนไหมที่เราในฐานะผู้หญิงถูกทำให้รู้สึกด้อยกว่าผู้ชายและผู้ชายอยู่เหนือกว่าเรา ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เพราะในอดีตการถูกกระทำให้รู้สึกว่าไม่เท่าเทียมเพียงเพราะเพศที่แตกต่างมันแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนมาก ทั้งด้านสังคม การศึกษา ฯลฯ สอดคล้องกับตัวอย่างที่ Woolf เขียน “I was actually at the door which leads into the library itself. I must have opened it, for instantly there issued, like a guardian angel barring the way with a flutter of black gown instead of white wings, a deprecating, silvery, kindly gentleman, who regretted in a low voice as he wave me back that ladies are only admitted to the library if accompanied by a Fellow of the College or furnished with a letter of introduction.” (Woolf, 1929, p. 5) 

พี่ญาดาและฉันเรามีความคล้ายกันตรงที่ว่า ใช่ การกระทำแบบนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน แต่บ่อยครั้งที่เราก็ใช้ชีวิตไปแบบที่ไม่ได้หยุดคิด คนนั้นเป็นเพศอะไร และฉันเป็นเพศอะไร เราจึงสังเกตไม่ค่อยได้ว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงบางคนอาจรู้สึกตัวเล็กกว่าผู้ชาย ทำไมต้องรู้สึกแบบนั้น แต่มุมมองที่ศินำเสนอค่อนข้างน่าสนใจ เพราะเธอบอกว่า ปัจจุบันการถูกกระทำให้รู้สึกว่าด้อยกว่าผู้ชายเพียงเพราะเพศที่แตกต่างอาจจะไม่ได้ชัดเจนเท่าเมื่อก่อน แต่ในสังคมเราเธอคิดว่ามันยังมีอยู่ แค่ปรับรูปแบบไปอยู่ในคำจำกัดความที่ถูกแต่งเติมเหตุและผลเข้าไป เช่น “เป็นผู้หญิงไม่ต้องยกของหนักหรอก ให้ผู้ชายยก” “เป็นผู้หญิงต้องใส่กระโปรง เดินช้า นั่งพับเพียบ” “เป็นผู้หญิงควรทำอย่างนี้ คิดอย่างนี้ เป็นอย่างนี้” แต่ถ้าพูดตามตรงแล้วตัดความเป็นเพศออกไป “มนุษย์อย่างพวกเรามีสิทธิและความคิดเป็นของตัวเองว่าพวกเราอยากทำอะไรยังไง และใช้ชีวิตแบบไหน” 

เมื่อมาถึงส่วนคำถามที่ว่า มันจริงไหมที่ผู้หญิงจำเป็นต้องมีพื้นที่ส่วนตัวเป็นของตัวเองและทรัพย์จำนวนหนึ่งเพื่อที่จะถูกจัดว่าเท่าเทียมกับผู้ชาย “If only Mrs. Seton and her mother and her mother before her had left the great art of making money and had left their money, like their fathers and their great grandfathers before them;...we might have dined very tolerably up here alone off bird and a bottle of wine; we might have looked forward without undue confidence to a pleasant and honourable lifetime spent in the shelter of one of the liberally endowed professions. We might have been exploring or writing;...sitting contemplative on the steps of the Parthenon, or going at ten to an office and coming home comfortable a half-past four to write a little poetry.”  (Woolf, 1929, p. 19) มายด์เห็นด้วยกับกับข้อโต้แย้งนี้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนเสียงส่วนใหญ่บอกว่า “จริงครึ่งหนึ่ง” ครึ่งที่จริงก็คือ “ใช่ การมีพื้นที่ส่วนตัวเป็นของตัวเองและทรัพย์จำนวนหนึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ไม่ใช่จำเป็นแค่กับผู้หญิงเท่านั้น เพราะทุกวันนี้การที่จะมีเสรีภาพในการใช้ชีวิตของตัวเองในระดับหนึ่ง เราทุกคนควรมีศักยภาพในการสรรหาปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ให้กับตัวเอง ไม่ใช่เพียงแค่เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย


สำหรับแนวทางการเขียนของนักเขียนผู้หญิงและนักขียนผู้ชาย มันจะแบ่งออกเป็น Masculine Writing Style และ Feminine Writing Style มีข้อแตกต่างดังนี้ “female writers prefer to choose grammatical terms that refer to personal relationships. For example, women use "for" and "with" more often than men do. In general, women's writing is more of an interactive style. On the other hand, when you look at men's style of writing, you will find that men tend to use numbers, adjectives, and also determiners like "the", "this", and "that". This is because when it comes to conveying specific information, men care more than women do.” (Writology, 2017, Para. 8-18) พวกเราคิดว่ามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเขาหรือเธอคนนั้นเป็นนักเขียนหญิงหรือชาย เพราะทั้งสองสามารถมีแนวการเขียนทั้งสองแบบได้ในคนเดียวกัน มันขึ้นอยู่กับว่านักเขียนคนนั้นมีพื้นเพอย่างไร เป็นคนแบบไหน เจอเหตุการณ์อะไรมาบ้าง มองโลกแบบไหนและกำลังต้องการสื่ออะไรกันแน่มากกว่า พี่นิปปอนบอกว่าหลายครั้งที่อ่านหนังสือไปหลายเล่มแล้วคิดว่านักเขียนต้องเป็นผู้ชายแน่ ๆ หรือนักเขียนต้องเป็นผู้หญิงแน่ ๆ ปรากฏว่าตอนอ่านจบความจริงไม่ได้เป็นอย่างสิ่งที่ทายไว้


เช่นเดียวกับหัวข้อสุดท้ายที่เกี่ยวกับความเป็นอิสระในตัวตนของตัวเองของนักเขียนหญิงในเอเชียและนักเขียนหญิงในตะวันตกว่ามีแตกต่างกันไหม แน่นอนว่าแตกต่างอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่แค่ในแง่ของการเป็นนักเขียน งานและสายอาชีพที่หลากหลายมักมีทั้งช่วงเวลาที่ราบรื่น เจออุปสรรค รู้สึกกดดัน ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นของตัวเองได้เต็มที่บางที แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากเพราะเราเป็นชาวเอเชียหรือตะวันตกหรอกที่จริง แต่เป็นเพราะเราเป็นมนุษย์ และมนุษย์ต้องใช้ชีวิต ชีวิตเต็มไปด้วยสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ มันจึงทำให้ดูเหมือนว่าบ่อยครั้งเราขาดอิสระในการเป็นตัวของตัวเองและโดนจับใส่ไว้ในกรอบ


ฉันทราบว่ายังมีผู้หญิงอีกหลายคนในหลายประเทศที่ยังต้องต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมเพียงเพราะเพศที่แตกต่าง (สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมและความเชื่อในแบบดั้งเดิมของประเทศนั้น ๆ) แต่ฉันและทุกคนใน The Bookining Book Club คิดว่าหนึ่งหนทางที่เราสามารถทำได้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแสดงจุดยืน คือการเป็นตัวอย่าง เราทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยสามารถเลือกที่จะเป็นตัวอย่างและเป็นกระบอกเสียงในการสื่อสารข้อความที่ว่า Everything is possible. Never lose faith. “Lock up our library if you like; but there is no gate, no lock, no bolt, that you can set upon the freedom of my mind” (Woolf, 1929, p. 74) 


Resources

Woolf, V. W. (1929). A room of one’s own. HarperCollinsPublishers.

Writology. (2017, Jan 10). Comparative essay example: male vs female writers. Writology.    


เรื่อง : Princess

ภาพประกอบ : Serm