“Without books, we wouldn’t be human in the way that we are.”
.
คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าการอ่านหนังสือผ่านหน้าจอของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อปหรือคินเดิลมีผลอะไรต่อการทำงานของสมองบ้าง วันนี้เรามีเรื่องราวน่าสนใจมาเล่าให้ฟังค่ะ
.
จากวิดีโอสั้นๆบนเว็บไซต์ของ BBC Ideas ได้พูดถึงการทำงานของสมองเมื่อเราได้อ่านหนังสือจากหนังสือจริงๆกับการอ่านผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์โดยเริ่มจากประวัติความเป็นมาของการอ่านไว้ว่าการอ่านนั้นเกิดขึ้นมาจากวิธีการง่ายๆในการบันทึกจำนวนของภาชนะใส่ไวน์หรือจำนวนของแกะที่เรามี และเมื่อมีการกำเนิดระบบตัวอักษร เราก็เริ่มให้ความสำคัญกับการจดจำและการเก็บรวบรวมความรู้มากขึ้น
.
สิ่งที่การอ่านทำกับสมองของเรานั้นคือการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างสมองที่สามารถทำให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างส่วนของการรับภาพ การใช้ภาษาและส่วนของความรู้สึกนึกคิด ดังนั้นแต่ละคนที่ต้องฝึกอ่านก็ต้องมีการสร้างระบบความคิดใหม่ให้กับสมองเช่นกัน พลังวิเศษของการอ่านประกอบไปด้วยสามส่วนคือความคิดสร้างสรรค์ ความเฉลียวฉลาด และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามสิ่งนี้นำมาซึ่งความสามารถในการอ่านออกเขียนได้
.
อย่างไรก็ตามเมื่อสื่อเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อการอ่านหนังสือมากขึ้น สิ่งนี้ได้หยุดกระบวนการที่ทำให้เราสร้างเงื่อนไขเช่นอะไรคือการเขียนที่ดีแต่จะเน้นไปที่การพูดคุยหรือแบ่งปันประสบการณ์มากกว่า และจากผลการวิจัยของนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์กว่า 30 ประเทศเกี่ยวกับผลกระทบของการดิจิไทซ์การอ่านก็ยังพบว่ามีภาวะ screen inferiority เกิดขึ้นหรือก็คือการที่เราติดหน้าจอนั่นเอง การอ่านจากหน้าจอจึงทำให้ทักษะการอ่านจับใจความของเราด้อยลงเมื่อเทียบกับการอ่านจากหน้าหนังสือจริงๆ เพราะการอ่านในลักษณะนี้จะทำให้เรามีแนวโน้มที่จะอ่านแบบเร็วๆและข้ามคำในการซึมซับข้อมูลมหาศาล
.
ดังนั้นความสำคัญของการอ่านจึงไม่ได้อยู่ที่ปริมาณว่าเราอ่านมากน้อยแค่ไหนแต่กลับขึ้นอยู่ที่วิธีการอ่านของเรานั่นเอง การอ่านแบบช้าๆเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่อ่านได้ลึกขึ้นนั้นเป็นฝึกสมองส่วน cerebral cortex ที่ทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์ การวิจารณ์ และทำให้เราเป็นมนุษย์ที่เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น หากเราไม่ฝึกให้สมองให้คงความสามารถเหล่านี้ไว้ ท้ายที่สุดเราอาจสูญเสียความสามารถที่จะเข้าใจเนื้อหาที่ซับซ้อนและการจินตนาการก็เป็นได้
.
ที่มา: